วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

สรุปบทที่ 2 : E - Business Infrastructure

     
     E-business infrastructure   หมายถึงการรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน Hardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย  


ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน E-business infrastructure components

     I. E-business service applications layer ชั้นของแอปฟลิเคชัน คือ ชั้นของโปรแกรมต่างๆ จะเป็นการใช้แอปพลิเคชั่น โดยไม่สนใจซอฟต์แวร์
    II. System Software layer การนำโปรแกรมที่มาใช้งานให้ประสบความสำเร็จในชั้นที่ 1 เป็นเรื่องของการจัดการซอฟต์แวร์
   III. Transport or Network layer เป็นชั้นที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น พวกโปรโตคอลต่างๆ ประสานงานกับเครื่องแม่ข่ายกับลูกข่าย
   IV. Storage/Physical layer เป็นชั้นที่ใช้เก็บพวกข้อมูลต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิกส์ แรม ว่าเก็บข้อมูลไว้ในส่วนไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ใช้อะไรเก็บ
   V. Content and Data layer ชั้นนี้เกี่ยวข้องกับพวก อินเตอร์เน็ต เอ็กทราเน็ต อินทราเน็ต

Key management issues of e-business infrastructure 
  1. ประเภทของ E-business ที่เกี่ยวข้องกับแอปฟลิเคชั่น เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง การรักษาความปลอดภัยของการจัดซื้อ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
  2. ใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อให้ถึงเป้าหมาย เช่น e-mail , web-based เป็นต้น
  3. ทำอย่างไรเพื่อจะให้บริการต่างๆ มีประสิทธิภาพ
  4. จะนำบริการนี้ไปติดตั้งไว้ที่ไหนอย่างไร เช่นเอาไปติดตั้งที่เครื่อง server เอง หรือ ใช้บริการบริษัทภายนอกองค์กร

Internet technology
     Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก แต่ในการถ่ายโอนข้อมูลนั้นไร้รอยต่อของวิธีการเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น การร้องขอข้อมูลจะถูกส่งจากคอมพิวเตอร์ไคลเอนต์และอุปกรณ์มือถือที่มีผู้ใช้ ร้องขอการบริการให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์ที่เก็บข้อมูลโปรแกรม ประยุกต์ทางธุรกิจและโฮสต์ที่ส่งมอบการบริการในการตอบสนองต่อการร้องขอ ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client /Server

Hosting of web sites and e-business services


ตัวอย่าง Hosting ในไทย

Intranet applications
     อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของsupply-chain management

Extranet applications
  • เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลโดยควบคุมจากภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง
  • การประยุกต์ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตโปรแกรมนั้น ข้อมูลซอฟต์แวร์จะจำกัด การเข้าถึงของ บริษัทโดยแสดงข้อมูลภายในให้กับผู้ใช้ภายนอก
  • เช่น www.ifrazone.com  หมาะกับธุรกิจแบบ B2B




Firewalls
   ถ้าแปลเป็นภาษาไทย จะหมายถึง กำแพงไฟ ซึ่งน่าจะหมายถึงการป้องกันการบุกรุก โดยการสร้างกำแพง อย่างไรก็ตาม ความหมายของ Firewall สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ Firewall เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันระบบ Network (เครือข่าย) จากการสื่อสารทั่วไปที่ถูกบุกรุก จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในระบบ Network หรือระบบเครือข่าย การป้องกันโดยใช้ระบบ Firewall นี้จะเป็นการกำหนดกฏเกณฑ์ในการควบคุมการเข้า-ออก หรือการควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบเครือข่าย นั่นเอ




Web technology
  • คำว่า World Wide Web, หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ตโดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext MarkupLanguage)
  • หรือ การบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้พัฒนา เว็บ หรือผู้ที่ต้องการเขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านเว็บ หรือ อินเตอร์เน็ต แล้วจะต้องรู้และเข้าใจเรื่องเกี่ยวกับโปรโตคอล (Protocal) - มาตรฐานในการรับส่งข้อมูล

ความรู้เบื้องต้นการใช้งานอินเทอร์เน็ต 

  • โปรโตคอล เป็นเพียงข้อตกลงกันระหว่าง 2 ฝ่ายที่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง และราบรื่นมากที่สุด
  • การใช้บริการเว็บจะทำงานภายใต้ โปรโตคอล HTTP
  • โดยโปรโตคอลจะเป็นตัวกำหนดวิธีการส่งข้อมูลหรือไฟล์ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Client และ Server รวมถึงการกำหนด กฏระเบียบในการติดต่อด้วย เราจะใช้โปรแกรมประเภท Browser เป็นตัวช่วยในการติดต่อสื่อสารได้ง่ายขึ้น
  • อินเทอร์เน็ต หมายถึง ลักษณะของการเชื่อมต่อของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งเล็กและใหญ่จำนวนมากเข้าด้วยกัน
Web browsers and servers
  • เว็บเบราว์เซอร์ (web browserเบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
  • เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ความหมาย คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์

Browser Compatibility
       การตรวจสอบเว็บไชต์สามารถรองรับกับการเข้าชมเว็บไซต์ผ่าน Browser ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ซึ่งเมื่อนักพัฒนาโปรแกรมพัฒนาเว็บไซต์ขึ้นมาแล้วต้องคำนึงถึง เว็บไชต์นั้นๆ สามารถใช้งานผ่าน browser ต่างๆได้หรือไม่ ซึ่งในปัจจุบันมีโปรแกรมช่วยทดสอบ ในเรื่องของ browser compatibility เช่น





Internet-access software applications

 Evolution Web 1.0, Web 2.0 to Web 3.0

  • Web 1.0 = Read Only, Static Data with simple markup  
          ผู้เข้าชมสามารถอ่านได้อย่างเดียว ( Read-only ) เป็นเทคโนโลยีที่สามารถแก้ไขข้อมูล หน้าตาของเว็บไซต์ได้เฉพาะผู้ดูแลเว็บไซต์ ( Web master )เป็นเว็บที่ผู้เข้าเยี่ยมชมไม่สามารถมีส่วนร่วมกับเว็บดังกล่าวได้ ถือว่าเป็นเว็บรุ่นแรกของเทคโนโลยีเว็บไซต์ส่วนมากจะใช้ภาษา html (Hyper Text Markup Language) เป็นภาษาสำหรับการพฒั นา Web 1.0 นั้นเป็นเรื่องของการที่ผู้ให้บริการนำเสนอข้อมูลให้กับบุคคลทั่วไปโดยทำในลักษณะเดียวกับหนังสือทั่วไป ที่ผู้อ่านมีส่วนร่วมน้อยมากในการเติมแต่งข้อมูล ต่อมาเริ่มมีการนำเอา Java Script และภาษา PHP (Hyper Text preprocessor)มาใช้งาน


  • Web 2.0 = Read/Write, Dynamic Data through Web Services
          ผู้เข้าชมสามารถอ่านและเขียนได้ ( Read-Write ) เป็ นเทคโนโเว็บไซต์ที่พัฒนาต่อจาก web 1.0 เป็ นเทคโนโลยีเว็บไซต์ที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานได้ เช่น เว็บบอร์ด เว็บบล็อก วิพีเดีย เป็นต้น ซึ่งจะใช้ฐานข้อมูลมาเกี่ยวข้อกับเทคโนโลยีนี้ด้วย บุคคล
ทั่วไปคือผู้สร้างเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ จาก Web 2.0 ในเปลือกนัท ทำให้เราเข้าใจว่าในยุคที่ 2 นั้นเป็ นเรื่องของการแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง โดยการสร้างเสริมข้อมูลสารสนเทศ ให้มีคุณค่าและมีข้อมูลที่ถูกต้องที่สุด ดังตัวอย่างที่เป็นสิ่งที่ทุกคนคงรู้จักกันดีอย่าง Wikipedia ทำให้ความรู้ถูกต่อยอดไปอยู่ตลอดเวลา ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากการเติมแต่งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เกิดจากการคานอำนาจของข้อมูลของแต่ละ

  • Web 3.0 = Read/Write/Relate, Data with structured Metadata + managed identity
          เป็นการนำแนวคิดของ Web 2.0 มาทำให้ Web นั้นสามารถจัดการข้อมูลจำนวนมากๆ ให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ที่หมายถึงข้อมูลที่บอกรายละเอียดของข้อมูล (Data about data) ทำให้เว็บกลายเป็น Semantic Web คือ ตัว Web จะทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านั้นแล้วให้ Tags ตามความเหมาะสมให้เราแทน โดยข้อมูลแต่ละ Tag จะมีความสัมพันธ์กับอีก Tag หนึ่งโดยปริยาย ทำให้อินเตอร์เน็ตกลายเป็นฐานข้อมูล ความรู้ขนาดใหญ่ ที่ข้อมูลทุกอย่างถูกเชื่อมต่อกันอย่างเป็นระบบมากขึ้น Web 3.0 จะพัฒนาไปในลักษณะ Segment of One คือ Segment ที่มีบุคคลแค่คนเดียว หรือ ตอบโจทย์ความเป็นส่วนบุคคล เช่น อยากไปเที่ยวภูเขาไฟฟูจิ เมื่อค้นข้อมูลแล้วเว็บไซต์จะเชื่อมโยงข้อมูลทั้งหมดออกมา ไม่ว่าจะจากสายการบินต่างๆ แพ็กเกจไหนดีที่สุด และนำมาเช็ค กับตารางของผู้ใช้ว่าตารางเวลาตรงกันไหม หรือจะนำไปเช็คกับตารางของเพื่อนที่ญี่ปุ่นใน Social Network เพื่อนัดเวลาที่ตรงกันเพื่อพบปะทานข้าวร่วมกันก็ได้ ในยุคสื่อดิจิตอล     เว็บ 3.0 ที่ได้รับการพัฒนา จะประกอบด้วย

  1. AI (Artificial Intelligence)  หรือปัญญาประดิษฐ์ เป็นการสร้างความฉลาดให้ระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถคาดเดาพฤติกรรมและวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้งานเว็บช่วยในการค้นหาข้อมูลซึ่งมีจำนวนมากเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
  2. Semantic Web คือ การรวมของฐานข้อมูลแบบ อัตโนมัติโดยใช้การคาดเดาและหลักทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย ซึ่งผลลัพธ์ของ Application ที่สร้างขึ้นบน Semantic Web จะถูกส่งไปยังอินเทอร์เน็ต และส่งต่อไปยัง Web Browser
  3. Automated reasoning การเขียนโปรแกรมให้ระบบคอมพิวเตอร์รู้จักการแก้ปัญหาเอง มีการประมวลผลได้อย่างสมเหตุสมผลพร้อมทั้งแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าเองได้โดยอัตโนมัติ
  4. Semantic Wiki เป็นการอธิบายคำๆหนึ่งคล้ายกับดิกชันนารีดังนั้นทำให้เราสามารถหาความหมายหรือข้อมูลต่างๆได้ละเอียดและแม่นยำมากขึ้น
  5. ontology language หรือ OWL เป็นภาษาที่ใช้ในการอธิบายสิ่งต่างๆให้มีความสัมพันธ์กันโดยดูจากความหมายของสิ่ง
    นั้นๆซึ่งก็จะเชื่อมโยงกับระบบ Metadataคือภาษาที่ใช้เป็นตัวอธิบายข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Data about Data) หรือ “ข้อมูลที่ใช้อธิบายความหมายของข้อมูล” หรือ Tags นั้นเอง



 Blog
  • Blog มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log
  • Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์โดยเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ ซึ่งข้อมูลประกอบด้วยข้อความ, รูปและลิงค์
  • การเพิ่มบทความให้กับ blog ที่มีอยู่ เรียกว่า “blogging”
  • บทความใน blog เรียกว่า “posts” หรือ “entries”
  • บุคคลที่โพสลงใน “entries”เรียกว่า “blogger”

      จุดเด่นของ Blog
  1. เป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านที่เป็นกล่มุเป้าหมายได้ชัดเจน
  2. มีความสะดวกและง่ายในการเขียน Blog ทำให้สามารถเผยแพร่ความคิดเห็นของผู้เขียน blog ได้ง่ายขึ้น
  3. Comment จากผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันบางครั้งทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ
      ข้อแตกต่างของ Blog กับเว็บประเภทอื่น
  • การใส่ข้อมูลใหม่ทำได้ง่าย
  • มี template อัตโนมัติช่วยจัดการ
  • มีการกรองเนื้อหาแยกตามวัน ประเภทผู้แต่งหรืออื่นๆ
  • ผู้ดูแลจัดการ blog สามารถเชิญ หรือ เพิ่มผู้แต่งคนอื่น โดยจัดการเรื่องการอนุญาตและการเข้าถึงข้อมูลได้โดยง่าย
  • เจ้าของ blog จะเป็นผู้สร้างหัวข้อสนทนาเท่านั้น
      Blog และวิถีของผู้คน

  • Blogger หลายคนสนับสนุนแนวคิดเรื่อง open source
  • Blog ส่งผลกระทบต่อสงั คมได้ เช่นบาง Blog นั้นลูกจ้างอาจจะก่อรำคาญใจต่อนายจ้างและทำให้บางคนถูกไล่ออก
  • คนใช้ Blog ในทางอื่นๆ เช่นส่งข้อความสู่สาธารณะ อาจจะมีปัญหาตามมาได้ คือการไม่เคารพทรัพย์สินทางปัญญา หรือการให้ข่าวที่ไม่น่าเชื่อถือได้
  • บางครั้งการสร้างข่าวลือก็เอื้อประโยชน์ต่อสื่อสารมวลชนที่สนใจเรื่องนั้น ๆ ได้
  • Blog เป็นการรวบรวมความคิดของมนุษย์ สามารถนำมาใช้ช่วยกับปัญหาด้านจิตวิทยา , อาชญากรรม , ชนกล่มุ น้อย ฯลฯ
  • Blog เป็นช่องทางเผยแพร่งานพิมพ์อย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ


 Internet Forum

  • ทำหน้าที่คล้าย bulletin board และ newsgroup
  • มีการรวบรวมข้อมูลทั่วๆไป เช่น เทคโนโลยี, เกม,คอมพิวเตอร์, การเมือง ฯลฯ
  • ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดานได้
  • ผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือแม้กระทั้งโพสความคิดเห็นของตนเองลงไปได้


 Wiki
  • Wiki อ่านออกเสียง "wicky", "weekee" หรือ "veekee"
  • สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์ โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน
  • Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม, HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ แขนงเข้าไว้ด้วยกันโดยเฉพาะมีเครื่องมือที่ใช้ทำ Wiki หลายอย่าง เช่น Wikipedia เป็นต้น
  • Wikipedia เป็นระบบสารานุกรม (Encyclopedia) สาธารณะที่ทุกคนสามารถใส่ข้อมูลลงไปได้ รองรับภาษามากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย
  •  มีการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์วิกิที่สำคัญยิ่งในการสร้างสารานุกรม ที่เปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาร่วมกันสร้างสารานุกรมที่ http://www.wikipedia.org    
  • วิกิพีเดียในภาคภาษาไทยที่ http://th.wikipedia.org
  • ในปัจจุบันวิกิพีเดียถือว่าเป็นแหล่งความรู้ที่สำคัญ
  • ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่ดี พึงคงคุณลักษณะของการเปิดพื้นที่ให้กับปัจเจกบุคคลในการสื่อต่อสาธารณะโดยมีการควบคุมน้อยที่สุด
  • เพื่อให้การประมวลสังคม เป็นไปอย่างอิสระปราศจากการครอบงำจากเจ้าของเทคโนโลยีให้มากที่สุด
  • ดังนั้น การสร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมใดๆ พึงตระหนักถึงหลักการเคารพในสิทธิของปัจเจก (individual) ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้



 Instant Messaging
  • เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative privacy
  • ตัวอย่างเช่น Twit Chart, Gtalk , Skype , Meetro , ICQ ,Yahoo Messenger , MSN Messenger และ AOL Instant Messenger เป็นต้น


 Folksonomy

         ก่อนหน้าการกำเนิดขึ้นของปัจเจกวิธาน โดยทั่วไปแล้ว ได้มีการจัดกล่มุ การจัด
ระเบียบและค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตโดยทั่วไปมี 3 แบบ คือ
    1.  ค้นหาในเนื้อความ (Text Search)
             •  ตัวอย่างเช่น Google ที่ก่อตั้งโดย Sergery Brin และ Larry Page
             •  ได้ออกแบบเพื่อจัดอันดับความสำคัญของเว็บโดยคำนวณจากการนับ Link จากเว็บอื่นที่ชี้มาที่เว็บหนึ่งๆ
             •  เป็นที่น่าติดตามว่าจะมีเทคนิควิธีในการค้นหาข้อมูลใหม่ ๆ
    2.  เรียงเนื้อหาตามลำดับเวลา (Chronological)
             •  เนื้อหาข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงลำดับเวลาโดยแสดงตามเวลาใหม่ล่าสุดก่อน             •  เช่น เว็บไซต์ประเภทข่าว อย่าง CNN, BBC และ google news เนื้อหาเก่าจะตกไปอยู่ด้านล่าง             •  Blog ก็ใช้วิธีจัดเรียงตามเวลาเช่นกัน             •  ทั้งนี้หากต้องการอ่านเนื้อหาเก่าก็สามารถคลิกดูที่ปฏิทินได้
    3.  แยกตามกลุ่มประเภท (Category, Classification
)

             •  การจัดระเบียบแบบนี้ยึดเอาหัวข้อเป็นหลัก แล้วแยกประเภทออกไป เช่น แบ่งหนังสือเป็นประเภทธุรกิจ, หนังสือเด็ก,                       นวนิยาย, คอมพิวเตอร์, ศาสนา,วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ลักษณะอื่น ๆ             •  จะช่วยให้ค้นหาข้อมูลได้ง่ายขึ้น

ปัญหาที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารบนอินเทอร์เน็ต มีดังต่อไปนี้
  • เนื้อหามีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วรายวัน
  • การค้นหาข้อมูลที่ตรงตามความต้องการมากที่สุดทำได้ยาก เนื่องจากเนื้อหาที่มีจำนวนมาก
  • การค้นหาข้อมูลเฉพาะด้านที่ขึ้นกับความสนใจของผู้ทำการค้นไม่ตรงจุด
  • ข้อมูลที่พบอาจจะขาดความน่าเชื่อถือ
กำเนิดปัจเจกวิธาน

  • Joshua Schachter เริ่มรวบรวมเก็บเว็บต่าง ๆ เป็น Bookmark ของตนเองคนเดียวไว้มากและใช้ Keyword เพื่อจัดกลุ่มแทน
  • เช่น “search engine tools” และ “password security tools” เมื่อต้องการเรียกเว็บที่มีคำว่า tools ก็จะสามารถดึงรายชื่อเว็บทั้งหมดออกมาได้ทันที
  • ปัจเจกวิธาน เรียก keyword นี้ว่า tag เป็นคำสัก 2 - 7 คำที่เกี่ยวกับเว็บใหม่ที่สามารถจัดเป็นกล่มุ เว็บได้
Tag
  • วิธีการใช้ tag นี้มีความสะดวกตรงที่ไม่ต้องจำลำดับชั้นการจัดระเบียบเช่นเดิม การค้นเจอเว็บก็ได้จาก tag หลาย ๆ ตัวได้ ไม่จำกัดอยู่แต่ข้อมูลในFolder เดียวกัน Joshua นำให้ทุก ๆ คนสามารถตรวจดูเว็บที่มีการตั้งชื่อ tag โดยผู้อื่นได้


กลุ่ม Tag ก่อตัวกันมองคล้ายกลุ่มเมฆ (Tag Cloud)

  • เมื่อมีการใส่ tag เป็นจำนวนมากแล้ว ระบบของ ปัจเจกวิธาน สามารถแสดงภาพรวมออกมาได้ว่าทุกๆ คนใช้ tag ใดมากน้อยเพียงใด (ดังรูป) Tag ใดที่มีคนใช้มาก ก็จะตัวใหญ่ tag ใดใช้น้อยก็จะตัวเล็ก
  • การแสดงภาพรวมนี้สามารถทำได้ทั้งของทุก ๆ คนรวมกัน หรือ เฉพาะบุคคลไป (ซึ่งจะชี้ให้เห็นได้ว่าบุคคลนั้นสนใจเรื่องใดบ้าง)
เนื้อหาข้อมูลข้ามสายกัน (Cross-Navigation)

  • การใช้แกนในการค้นหาถึงสามอย่างได้ช่วยให้พบข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น แกนดังกล่าว ได้แก่
                 User : เว็บทั้งหมดที่ผู้ใช้ผู้นี้ใส่ tag ให้และเรียกดู tag cloud ของผู้ใช้ผู้นี้ได้ด้วย
                 Tag : เว็บทั้งหมดที่มีการใส่ tag และเรียกดู tag ที่เกี่ยวข้องได้ด้วย
                 URL : เว็บเว็บนี้มีใครใส่ tag บ้าง และใส่ว่าอะไรบ้าง
  • การค้น อาจจะเริ่มจากที่ User แล้วไปที่แกน tag และทำให้พบ tag ที่เกี่ยวข้องได้อีก โดยไม่ได้ตั้งใจไว้ก่อนแต่แรก
การใช้ tag สามารถพบได้ในการนำไปกับเนื้อหาอื่น ๆ
  • Flickr.com เก็บ และ ใส่ tag ให้กับรูปภาพ
  • CiteULike.org เก็บและใส่ tag ให้เอกสารงานวิจัย (academic paper)
  • 43Things.com บันทึกสิ่งที่อยากทำในชีวิตพร้อมกับใส่ tag ให้กิจกรรมนั้น
  • Tagzania.com บันทึกสถานที่ และใส่ tag ให้กับสถานที่หรือแผนที่


อนาคตของ ปัจเจกวิธาน (Folksonomy)
  • ระบบการใช้ tag จะมีการนำไปประยุกต์ใช้กับ Blog และ Wiki เพื่อความสะดวกให้การค้นหาความรู้ต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ในซอฟต์แวร์ทั้งสอง
  • ในระยะยาวอาจจะมีการแข่งขันของโปรแกรมลักษณะนี้อีกก็เป็นไปได้ โดยที่อาจจะมีคุณลักษณะเพิ่มเติมที่ง่ายต่อการใช้งาน และมีความสามารถใหม่ ๆ


Networking standards

         ในส่วนนี้จะกล่าวถึง Internet Standard เป็นขบวนการที่เกี่ยวข้องกับทุกๆ protocol & procedure และระเบียบแบบแผนต่างๆ ที่ใช้ในระบบอินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นว่ามันจะเป็นส่วนหนึ่งของ TCP/IP protocol หรือไม่ ในกรณีของหลายๆ protocol จะถูกพัฒนาและทำให้เป็นมาตราฐานด้วยองค์กรที่ไม่ใช่เป็นองค์กรของอินเตอร์เน็ต (non-Internet organizations)
TCP/IP

  • ข้อตกลงในการควบคุมการรับส่งข้อมูล และ internet หรือ protocol ของระบบ internet Transmission Control Protocol/Internet Protocol
  • โปรโตคอล TCP/IP เป็นชื่อเรียกของชุดโปรโตคอลที่สำคัญ มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายตามการขยายตัวของอินเตอร์เน็ต/อินทราเน็ต
  • โปรโตคอลที่มีบทบาทสำคัญในการทำงานในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ Internet Protocol เนื่องจาก เมื่อโปรโตคอลอื่นๆต้องการส่งผ่านข้อมูลข้ามเครือข่ายในอินเตอร์เน็ตนั้นจะต้องอาศัยการผนึกข้อมูล (encapsulation) ไปกับโปรโตคอล IP ที่มีกลไกการระบุเส้นทาง(route service) ผ่าน Gateway หรือ Router


The HTTP protocol

     HTTP มาจากคำว่า Hypertext Transfer Protocol ซึ่งเป็น protocol ที่ใช้ในการส่งเดต้าต่างๆ ในโลกของ World Wide Web.
     HTTP เป็น network protocol ที่ใช้หลักการของ client-server model ในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งหลักการทำงานอย่างคร่าวๆ มีดังนี้
  1. HTTP Client จะทำการสร้างคอนเนคชั่น ไปหา HTTP Server ซึ่งโดยทั่วไปจะผ่านทาง socket ของ TCP/IP
  2. หลังจากนั้น HTTP Client จะทำการส่งคำสั่ง (request) ซึ่งอยู่ในรูปของ message ไปให้ HTTP Server เพื่อทวงถามถึง resource ที่ต้องการ
  3. HTTP Server จะทำการตีความคำสั่งที่ได้และส่งผล (response) ซึ่งเป็น resource ที่ HTTP Client ต้องการกลับมา (ผลที่ส่งกลับมาจะเป็นลักษณะของ message คล้ายกับ requet ของ HTTP Client ที่ส่งมาให้ HTTP Server)
  4. หลังจากที่การส่ง response เสร็จสิ้น, HTTP Server จะทำการปิดคอนเนคชั่น ที่มาจาก HTTP Client
  5. ในกรณีที่ HTTP Client ต้องการ resource อื่น ๆ, HTTP Client จะต้องทำการสร้างคอนเนคชั่น ใหม่และส่งคำสั่ง ไปหา HTTP Server อีกครั้ง จากหลักการข้างต้นจะเห็นว่าการติดต่อสื่อสารระหว่าง Client และ Server จะเป็นลักษณะครั้งต่อครั้ง ในทาง network เราเรียกการติดต่อสื่อสารแบบนี้ว่า Stateless Protocol

Uniform resource locators (URLs)

  • คือตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) ประเภทหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับระบุแหล่งที่อยู่ของทรัพยากรที่ต้องการ และมีกลไกบางอย่างสำหรับดึงข้อมูลทรัพยากรนั้นมา ในการใช้ในเอกสารทางเทคนิค และการอภิปรายทั่วไป
  • http://www.domain-name.extension/filename.html

Domain names
  • คือ ชื่อเว็บไซต์ (www.yourdomain.com) ที่สามารถเป็นเจ้าของ ซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกับคนอื่น เพื่อการเรียกหาเว็บไซต์ที่ต้องการ “ชื่อเว็บไซต์” คือ สิ่งแรกที่แสดง หรือประกาศความมีตัวตนบนอินเตอร์เน็ตให้คนทั่วไปได้รู้จัก สามารถมีได้ชื่อเดียวในโลกเท่านั้น
       ข้อควรรู้ก่อนจดโดเมน LOGO
  • ความยาวของชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร
  • Domain ต้องจดในชื่อของเราเท่านั้น Domain Ownership
  • ถ้าเป็น Domain ของบริษัท พยายามจดภายใต้ชื่อบริษัท อย่าจดด้วยชื่อพนักงาน IT
  • ข้อมูลที่สำคัญที่สุดของ Domain คือ Owner Detail
  • ใช้อีเมล์ที่จะอยู่กับเราตลอดไปในการจดโดเมน ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่ใช้ติดต่อกับเราเรียกว่า Registrant E-mail
  • บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับ Domain ของเราไว้ให้ดี วันหมดอายุ ผู้ติดต่อ และอื่นๆ


=========================== THE END ===========================

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น