วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

สรุปบทที่ 7 : Supply chain management (ต่อ)

       นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจการดําเนินธุรกิจต่างๆ เกือบทุกสาขาได้หยุดชะงักหรือชะลอตัวลงหรือแม้กระทั่งปิดกิจการไป เนื่องจากกิจการส่วนใหญ่ประสบปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ยอดขายลดลง ทำให้มีสินค้าคงเหลืออยู่เป็นจํานวนมาก ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขี้น รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปทําให้ผู้ผลิตจําเป็นต้องหันมาพัฒนาผลิตภัณฑ์และกําหนดกลยุทธ์ต่างๆ เพือรองรับกลุ่มลูกค้าและการแข่งขัน
       การใช้กลยุทธ์เดิมๆ คือ การเร่งพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการให้มีความโดดเด่นและใช้กลยุทธ์ด้านราคาด้วยการลดต้นทุนและตัดค่าใช้จ่ายลง แต่องค์กรทุกองกรค์ ต่างใช้กลยุทธ์ที่ไม่แตกต่างกันจนกระทั่งไม่ได้เกิดความได้เปรียบหรือเสียเปรียบกันมากนัก แต่ในปัจจุบันมีแนวความคิดที่กําลังได้รับความสนใจ และให้ความสําคัญกันมากคือ การบริหารซัพพลายเชน  (Supply Chain Management : SCM)

   Supply Chain Management : SCM   
        ระบบที่จัดการการบริหารและเชื่อมโยงเครือข่ายตั้งแต่ suppliers, manufacturers, distributors เพื่อส่งมอบสินค้าหรือบริการให้ลูกค้าโดยมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล วัตถุดิบสินค้าและบริการ เงินทุน รวมถึงการส่งมอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้การส่งมอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถส่งมอบได้ตรงตามเวลาและความต้องการ

Supply Chain Illustration

ตัวอย่าง Supply Chain for Denim Jeans




  ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบการจัดการซัพพลายเชน  

        การกําเนิดระบบการบริหารซัพพลายเชนกล่าวกันว่ามีต้นแบบมาจากการส่งลําเลียงเสบียงอาหารและอาวุธยุโธปกรณ์ตามระบบส่งกําลังบํารุงของทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ในช่วงสงครามที่ต้องการความมั่นใจว่าอาวุธและเสบียงอาหารจะต้องจัดส่งให้เพียงพอกับความต้องการและไปยังสถานที่ที่กําหนดอย่างถูกต้องตรงเวลา เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด จึงจําเป็นต้องอาศัยการวางแผนจัดลําดับก่อนหลังและรักษาประสิทธิภาพในการสื่อสารที่รวดเร็วและแม่นยํา
        ซึ่งต่อมาแนวความคิดดังกล่าวได้นํามาพัฒนาและดัดแปลงให้กับธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรมเพื่อมุ่งสร้างคุณค่าและความพึงพอใจแก่ลูกค้าด้วยต้นทุนที่ลดลง โดย Helen Peek และคณะได้กล่าวถึงระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนบริหารซัพพลายเชน 4 ระยะ คือ

 ระยะที่ 1 องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization)
        เป็นรูปแบบการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องการสร้างผลกำไรสูงสุดขององค์กร โดยเน้นความชำนาญในการทำงานของแต่ละแผนก/ฝ่าย

 ระยะที่ 2 องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company)
        ในระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งเป็นบริษัท โดยในองค์กรได้มีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มงาน/ฝ่ายเดียวกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันอย่างเด็ดขาด

 ระยะที่ 3 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company)
        ในระยะนี้องค์กรมีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่องจากระยะที่ 2 โดยฝ่ายต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้มีการติดต่อประสานงานเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น การทำงานจึงมีความต่อเนื่องกันเหมือนห่วงโซ่

 ระยะที่ 4 องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)
        ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายเชนอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเชนภายในบริษัทของตนเองไว้เรียบร้อยแล้ว และเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก โดยเข้าไปทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ในลักษณะที่เป็นเครือข่ายการทำงานเดียวกัน

   การบริหารจัดการซัพพลายเชน   

        เป็นการจัดการที่ต้องอาศัยความร่วมมือของคู่ค้าที่เกี่ยวข้องในซัพพลายเชนเราเป็นสำคัญ องค์กรที่มีความรู้ในการบริหารจัดการดีควรต้องถ่ายทอดแนวคิดและวิธีการปรับปรุงระบบงานและการประสานงานระหว่างองค์กรให้แก่องค์กรอื่นๆ สิ่งที่ควรพิจารณาความสามารถในการประสานระบบงานระหว่างองค์กรใน 3 ส่วนหลัก ได้แก่

    1.  ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการระหว่างกลุ่ม suppliers  (Supply-management interface capabilities)
        เพื่อให้ระบบปฏิบัติการโดยรวมมีต้นทุนต่ำที่สุด มีระบบโลจิสติกส์ในการส่งผ่านวัตถุดิบ ผลิต และส่งมอบสินค้าที่มีประสิทธิภาพและสามารถใช้ประสิทธิภาพและสามารถใช้ประสิทธิภาพของระบบโลจิสติกส์ ในการแข่งขันเชิงรุกเพื่อสร้างสรรค์ระบบการส่งมอบสินค้าที่รวดเร็ว  ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น

    2. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า(Demand-management interface capabilities)
        เป็นระบบการบริหารจัดการเพื่อการให้บริการที่มีคุณภาพและการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังการขาย เพื่อสร้างความได้เปรียบเพิ่มขึ้นในเชิงการแข่งขัน คุณภาพโลจิสติกส์ที่ต้องการคือ ความรวดเร็ว การมีสินค้าพร้อมจําหน่ายเมื่อลูกค้าต้องการ การส่งมอบสินค้าที'สมบูรณ์สอดคล้อง ตามความต้องการของลูกค้าและการมีระบบสื่อสารที่ลูกค้าสามารถ เข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องหรือสอบถามและร้องเรียนกับทางบริษัทได้สะดวก ศักยภาพในการบริการยังหมายถึง ความสามารถใน การให้บริการที่ยืดหยุ่นมากขึ้นในแง่ของการเปลี่ยนแปลงคําสั่งซื้อในเรื่องของปริมาร สถานที่ชนิด ได้ในระยะเวลากระชันมากขึ้น ตลอดจนความสามารถในการผลิตและส่งมอบสินค้าในปริมาณมากด้วยความรวดเร็วได้เมื่อเกิดความต้องการสินค้าแบบไม่คาดหมายขึ้น

    3. ศักยภาพในการประสานระบบการจัดการสารสนเทศ (Information management capabilities)
        ระบบสื่อสารระหว่างองค์กรในซัพพลายเชนมีความสำคัญอย่างยิ่ง ก่อนที่บริษัทข้ามชาติจะเริ่มต้นประกอบการในประเทศต่างๆ จะต้องมีการวางโครงสร้างพื้นฐานทาง IT พิจารณาวางแผนกับปัญหาในเรื่องการประสานข้อมูลต่างๆ ทั้งในระบบองค์กรและระหว่างองค์กรโดยพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กับการวางกลยุทธ์ ระบบสื่อสารทิ่ดีทําให้เกิดความรวดเร็วและประหยัดต้นทุนในการดําเนินงานได้มาก เมื่อเริ่มต้นประกอบการแล้วจึงมักได้เปรียบคู่ 20 แข่งในท้องถิ่นเสมอ ประเด็นที่ต้องพิจารณาในการพัฒนาระบบการสื่อสารได้แก่ ระดับเทคโนโลยี เช่น hardware, software การออกแบบและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระดับการใช้ประโยชน์ในข้อมูลร่วมกัน ข้อมูลในระดับปฏิบัติการ ข้อมูลด้านยุทธ์ศาสตร์ ข้อมูลทางการเงิน หรือข้อมูลในระดับเทคนิค และความสามารถในการเชื่อมต่อของระบบ เช่น ความรวดเร็วในการส่งผ่านข้อมูล ความรวดเร็วในการดําเนินการเมื่อได้รับข้อมูล และการจัดวางรูปแบบข้อมูลที่สามารถนําไปใช้งานต่อเนื่องได้ทันที

ปัญหาของการจัดการซัพพลายเชน  

    1. ปัญหาจากการพยากรณ์ เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการจัดการซัพพลายเชน ซึ่งการพยากรณ์ที่ผิดพลาดมีส่วนสำคัญที่ทำให้การวางแผนการผลิตผิดพลาด และอาจจะทำให้ผู้ผลิตมีสินค้าไม่เพียงพอกับความต้องการของลูกค้าที่เกิดขึ้น

    2. ปัญหาในกระบวนการผลิต ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ เช่น เครื่องจักรเสียทำให้ต้องเสียเวลาส่วนหนึ่งในการซ่อมและปรับตั้งเครื่องจักร

    3. ปัญหาด้านคุณภาพ อาจจะส่งผลให้กระบวนการผลิตต้องหยุดชะงัก และทำให้ไม่สามารถส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ตามที่กำหนดไว้ นอกจากนั้นระบบการขนส่งที่ไม่มีคุณภาพสามารถส่งผลกระทบต่อผู้ที่อยู่ในโซ่อุปทานได้

    4. ปัญหาในการส่งมอบสินค้า การส่งต่องานระหว่างทำที่ล่าช้าตามไปด้วยในกรณีที่ไม่สามารถปรับตารางการผลิตได้ทัน ยิ่งไปกว่านั้น การส่งมอบสินค้าสำเร็จรูปให้ลูกค้าล่าช้าจะส่งผลกระทบต่อระดับการให้บริการลูกค้าและความสามารถในการแข่งขันของกิจการ 

    5. ปัญหาด้านสารสนเทศ สารสนเทศที่ผิดพลาดมีผลกระทบต่อการจัดการโซ่อุปทาน ซึ่งทำให้การผลิตและการส่งมอบสินค้าผิดไปจากที่กำหนดไว้ ความผิดพลาดในสารสนเทศที่เกิดขึนมีหลายประการ  เช่น ความผิดพลาดในการสั่งซื้อวัตถุดิบ การกําหนดตารางการผลิต การควบคุมสินค้าคงคลัง การขนส่ง ฯลฯ

    6. ปัญหาจากลูกค้า ในบางครั้งผู้ผลิตได้ทำการผลิตสินค้าไปแล้วส่วนหนึ่ง แต่ได้รับการยกเลิกคำสั่งซื้อจากลูกค้าในเวลาต่อมา จึงทำให้เกิดต้นทุนในการเก็บรักษาสินค้าคงคลังส่วนนั้นไว้
ตัวอย่าง ปัญหาของการจัดการโซ่อุปทานที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เช่น
Bullwhip Effect  คือ ปัญหาที่เกิดจากความแปรปรวนเล็กน้อยของความต้องการถูกนำมาขยาย เมื่อส่งข้อมูลกลับต้นทาง




 เทคโนโลยีสารสนเทศใน Supply Chain
        เทคโนโลยีช่วยในการจัดการ  Supply Chain ให้มีประสิทธิภาพนั้น มีองค์ประกอบที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรื่องความต้องการของผู้บริโภคที่มีต่อสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด
การจัดหาสินค้าและผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ
และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดตลาดและที่สำคัญไปกว่านั้นคือการนำความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการให้ระบบ  Supply Chain มีความต่อเนื่องไม่ติดขัด

 ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business)
        ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-Business) หรือในบางครั้งเรียกว่า พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) เป็นการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ในกระบวนการทางธุรกิจและการดำเนินงานระหว่างธุรกิจกับธุรกิจและระหว่างบุคคลกับธุรกิจ

 ธุรกิจที่อยู่ในโซ่อุปทานส่วนใหญ่จะมีการดำเนินธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์กับ supplier และลูกค้าประโยชน์ที่ได้รับจากการทำธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์มีหลายประการ
  • เกิดการประหยัดต้นทุน เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีแทนแรงงานคน ทำให้ราคาของสินค้าลดลง
  • ลดการใช้คนกลางในการดำเนินธุรกิจ เช่น ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก ผู้ให้บริการ เป็นต้น
  • ลดกิจกรรมที่ไม่จำเป็นระหว่างโซ่อุปทาน
  • ทำให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากสารสนเทศมากขึ้น


 การใช้บาร์โค้ด (Bar Code)
        บาร์โค้ดหรือรหัสแท่ง เป็นสัญลักษณ์ที่อยู่ในรูปแบบของแท่งบาร์ ประกอบด้วยบาร์ที่มีสีเข้มและช่องว่างสีอ่อน ซึ่งเป็นตัวแทนของตัวเลขและตัวอักษร สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง scanner มันจึงทำหน้าที่ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ของสินค้า เช่น หมายเลขของสินค้า ครั้งที่ทำการผลิต เลขหมายเรียงลำดับกล่องเพื่อการขนส่ง ปริมาณสินค้าที่ผลิต รวมถึงตำแหน่งผู้รับสินค้า เป็นต้น

 การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI : Electronic Data Interchange)
        เป็นเทคโนโลยีอีกประการหนึ่งที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการ supply chain เป็นระบบถ่ายทอดข่าวสารข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งในรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดยรูปแบบข่าวสารข้อมูลนั้นจะมีการจัดรูปแบบและมีความเป็นมาตรฐานเดียวกันตามที่ได้ตกลงกันไว้ เรียกว่า EDI Message ผ่านเครือข่ายการสื่อสาร (Telecommunication Network) ทำให้เพิ่มความถูกต้องและรวดเร็วในการทำงาน

 การใช้ซอฟต์แวร Application SCM
        การนำซอฟต์แวร์มาพัฒนาและประยุกต์ใช้งานในปัจจุบัน เช่น Enterprise Resource Planning (ERP) เป็นซอฟต์แวร์ที่จัดเป็นระบบศูนย์กลางขององค์กรทั้งหมด ทำหน้าที่ประสานงานหลักๆ ในด้านต่างๆ เช่น การเงิน การผลิต และการจัดคลังสินค้า
Advance Planning and Scheduling จัดสร้างแผนการผลิตและจัดตารางเวลาโรงงานการผลิต ใช้เงื่อนไขข้อจำกัดและกฏเกณฑ์ทางธุรกิจในการปรับตารางให้ดีที่สุด
Inventory Planning วางแผนคลังสินค้าที่จำเป็นในแต่ละจุดเพื่อกระจายการจัดส่ง เพื่อให้ตรงตามความต้องการของตลาด
Customer Asset Management ใช้สำหรับจัดระบบการสื่อสารโต้ตอบกับลูกค้ารวมทั้งระบบขายอัตโนมัติและการให้บริการลูกค้า เป็นต้น
ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตระบบ ERP มีอยู่ 5 รายคือ SAP , ORACLE , Peoplesoft , J.D.Edwards และ Baan

 เครือ THE MINOR GROUP
        เครือเดอะไมเนอร์กรุ๊ป เป็นกลุ่มบริษัทชั้นนำในธุรกิจโรงแรมและธุรกิจอาหารที่เป็นเจ้าของร้านอาหารกว่า 700 แห่งและโรงแรมกว่า 2,400 ห้อง และเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าแฟชั่นกว่า 20 แบรนด์

และได้มีการขยายธุรกิจหลักออกไปสู่ต่างประเทศด้วย ทั้งการลงทุนเองและซื้อกิจการใหม่ เพื่อผลักดันธุรกิจให้เติบโตอย่างรวดเร็ว


Food service


Hotel and Plaza Entertainment



 SCM กับเครือ THE MINOR GROUP
supply chain เป็นกลยุทธ์ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโลกการค้ายุคใหม่ด้วยศักยภาพของอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงเครือข่ายหรือห่วงโซ่ supply chain ในรูปแบบของ E-Supply Chain เป็นทีมเดียวกันอยู่ภายใต้ระบบและฐานข้อมูลเดียวกันแบบ Real Time สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี จึงทำให้ความใหญ่เล็กขององค์กรจะไม่เป็นปัญหาในการแข่งขันทางการค้า

ระบบที่เครือ THE MINOR GROUP นำมาใช้ในการจัดการ supply chain ประกอบด้วยระบบหลัก 4 อย่าง คือ

    1.ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เป็นเทคโนโลยีบริหารกระบวนการธุรกิจโดยเฉพาะการเชื่อมโยง SCM เน้นการบูรณาการกระบวนการหลักของธุรกิจ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกรรมประจำวัน
ระบบ ERP ที่เครือ THE MINOR GROUP นำมาใช้คือโปรแกรม Oracle ใช้ในการจัดจ้าง การผลิต การขาย การบัญชีและการบริหารงานบุคคลเข้าด้วยกัน

    2.ระบบ POS (Point Of Sale) ทุกครั้งที่มีการซื้อขายหน้าร้านทุกสาขาทั่วประเทศ ระบบ POS ของแต่ละสาขาก็จะส่งข้อมูลการขายสินค้าส่งกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์สำนักงานใหญ่ เมื่อสำนักงานใหญ่รวบรวมข้อมูลการขายสินค้าของแต่ละสาขาแล้ว ก็จะทำการเปิดใบสั่งซื้อไปยัง suplier ผ่านระบบออนไลน์ให้กับ suplier รายย่อยต่อไป

    3.ระบบ Barcode เก็บข้อมูลรายละเอียดสินค้า เพราะจะทำให้บริษัททราบถึงข้อมูลรายละเอียดสินค้าผ่านรหัสใน Barcode

    4.ระบบ CRM (Customer Relationship Management) เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนึ่งที่องค์กรนำมาใช้เพื่อบริหารความสัมพันธ์ของลูกค้ากับองค์กรตลอดวงจรชีวิตการเป็นลูกค้า ได้แก่ การตลาด การขาย การให้บริการ และการสนับสนุน โดยใช้ทรัพยากรด้านสารสนเทศ กระบวนการ เทคโนโลยีและบุคลากร โดยเน้นการสร้างประสานสัมพันธ์กับลูกค้าหรือ Demain Chain Management ผ่านการจัดโปรแกรมเพื่อจูงใจลูกค้า





=========================== THE END ===========================





วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2557

สรุปบทที่ 6 : Supply chain management

    Supply Chain Management    
     การจัดกลุ่มของกิจกรรมงาน กล่าวคือ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาจาก Supplies แล้วเปลี่ยนวัตถุดิบให้เป็นสินค้าขั้นกลาง และสินค้าขั้นสุดท้าย จนกระทั่งจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้า



สิ่งที่จะทำให้เข้าใจถึงหน้าที่ของการผลิตและวิธีการควบคุมการผลิตนั้น มีอยู่ 2 สิ่งหลักๆ คือ
       - วัตถุดิบ (Materials)
       - สารสนเทศ (Information)



 ปัญหาคือความสนใจที่แตกต่างกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น
        - ลูกค้ามักต้องการสินค้าที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบและมีราคาถูก
        - พนักงานในสายการผลิตอยากรู้คำสั่งที่ถูกต้อง
        - ฝ่ายจัดซื้อต้องการได้วัตถุดิบที่ถูกต้อง มีคุณภาพ
        - ผู้จำหน่ายวัตถุดิบต้องการคำสั่งซื้อที่ถูกต้องเพื่อจะได้จัดส่งได้ถูกต้อง
        - ผู้จัดการต้องการรายงานที่ถูกต้อง


Benefits of Supply Chain Management.

Realization of Benefits.

 ประโยชน์ของการทำ SCM
        - การเคลื่อนไหวของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
        - ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
        - เพิ่มความเร็วได้มากขึ้น
        - ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดได้
        - ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้
        - ปรับปรุงการบริการลูกค้า

 การบูรณาการในห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management

    -  การบูรณาการกระบวนการภายในทางธุรกิจให้เป็นแบบไร้รอยตะเข็บ ไร้ความสูญเสีย และมีความยืดหยุ่น ใช้นโยบายการทำงานแบบข้ามสายงาน ลดกระบวนการและขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น
    -  การบูรณาการกับกระบวนการภายนอก นั้นคือบูรณาการกับกระบวนการของลูกค้าที่สำคัญและผู้จัดหาวัตถุดิบที่สำคัญ ให้เข้ากับกระบวนการภายในของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพ และไร้รอยตะเข็บ ซึ่งจะส่งผลให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างยืดหยุ่น และ รวดเร็ว ขณะที่ต้นทุนลดตํ่าลง
     -  การบูรณาการทางเทคโนโลยีการสื่อสารและสารสนเทศ เพื่อให้การแลกเปลี่ยนและประสานข้อมูลข่าวสารภายในองค์กรและระหว่างองค์กร เป็นไปอย่าง ถูกต้องรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีที่นิยมใช้กันได้แก่ ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ (E-bussiness) การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange-EDI) การส่งจดหมายทางอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) บาร์โค้ด (Bar Code) การชี้บ่งตำแหน่งด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Identification-RFID) อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ซอฟท์แวร์การวางแผนทรัพยากรวิสาหกิจ (Enterprise Resource Planning-ERP) เป็นต้น 



   ตัวอย่าง การนำ Value Chain มาวิเคราะห์เพื่อนำ IT มาบูรณาให้กับองค์กร





 การนำระบบสารสนเทศไปใช้ในการจัดการด้าน Supply Chain
           Supply Chain Management คือ การจัดการเชื่อมกิจกรรมต่างๆที่สัมพันธ์ กันระหว่างผู้ผลิต (Supplier) ผู้จัดจำหน่าย(Distributor) และลูกค้า (Customer) กลยุทธ์ทางด้าน Supply Chain นั้นได้แก่ ความพยายามที่จะผูกลูกค้า ผู้ผลิต หรือผู้จัดจำหน่ายกับธุรกิจ เรียกว่า Lock-inCustomers หรือ Lock-in Suppliers เพื่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนไปทำธุรกิจกับผู้อื่น (Switching Cost) มีสูงขึ้น

ตัวอย่างของการนำสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
         UPS แข่งขันไปทั่วโลกด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศบริษัท United Parcel Service หรือ UPS ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่อันดับหนึ่งของโลกในด้านการจัดส่งพัสดุทางบก ทำการก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2450 และยังคงเป็นบริษัทอันดับ หนึ่งในปัจจุบันจากการที่ไม่เคยหยุดอยู่กับการพัฒนาบริการให้ดีขึ้น
         UPS ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า Hand-held Computer การบันทึกข้อมูลลายเซ็นลูกค้าเวลาที่รับ หีบห่อและเวลาที่ส่ง หีบห่อ จากนั้นส่งผ่านข้อมูลโดยผ่าน ระบบเครือข่ายของโทรศัพท์ไร้สาย หรือ Cellular Telephone Networkภายในรถไปยังคอมพิวเตอร์หลักของบริษัทที่ตั้งอยู่ทั่วโลกทำให้สามารถทราบได้ว่าพัสดุอยู่ที่ไหน
         ซึ่งระบบนี้จะใช้ บาร์โค้ด ( Bar Code ) เป็นตัวบันทึกข้อมูลหีบห่อที่รับและส่งเพื่อส่งผ่าน ข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง ทำให้ฝ่ายขายสามารถตอคำถามลูกค้าเกี่ยวกับพัสดุได้รวมทั้ง ลูกค้าของ UPS สามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ได้เองทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ (WWW) หรือการใช้ซอฟต์แวร์พิเศษของ UPS รวมทั้งลูกค้าสามารถเข้าไปใน WWW ตรวจสอบ  เส้นทางการขนส่ง คำนวณอัตราค่าส่งหีบห่อ และจัดตารางการรับ/ส่งหีบห่อได้และในอนาคตก็จะสามารถจ่ายค่าส่งทางอินเตอร์เน็ตได้นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 2534 UPS ยังเสนอบริการใหม่ด้วยการส่งสินค้าภายใน24 ชั่วโมง และบริษัทยังสามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางหรือหยุดการส่งในระหว่างทางได้ หากลูกค้าต้องการ



=========================== THE END ===========================