ประวัติความเป็นมา
การก้าวไปสู่ e-government จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงานและการให้บริการของภาครัฐเพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม
จะเห็นได้ว่าประเทศต่างๆทั่วโลกต่างก็ให้ความสำคัญกับการก้าวไปสู่การเป็นe-government และมีการประกาศนโยบายในเรื่องนี้อย่างเป็นทางการตัวอย่างเช่น
สหราชอาณาจักร ประกาศว่าภายในปี ค.ศ. 2005
ประชากรทุกคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ไม่ว่าจะเข้าจากที่บ้าน
หรือจุดให้บริการในชุมชน ก็ตาม
รวมทั้งการบริการของภาครัฐทุกอย่างจะทำผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในขณะที่สิงคโปร์เองก็ประกาศว่าภายในปี
ค.ศ. 2001 counter services ของรัฐ 100% จะเป็นการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์
ออสเตรเลียระบุว่ารัฐจะให้บริการที่เหมาะสมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ อันหมายถึงผ่านทางอินเทอร์เน็ตภายในปี
ค.ศ. 2001 ส่วนแคนาดามีเป้าหมายว่าบริการของรัฐทุกอย่างจะเป็นแบบ online ภายในปี ค.ศ.2004
โดยมีบริการหลักบางอย่างสามารถให้บริการได้ก่อนในปี ค.ศ. 2000
สำหรับเนเธอร์แลนด์มีเป้าหมายว่า 20%ของบริการของรัฐสามารถให้ online ได้ในปี ค.ศ. 2002 สหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเองก็กำหนดเป้าหมายไว้ว่าจะให้บริการต่างๆ
และบริการด้านข้อมูลของภาครัฐผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ภายในปี ค.ศ. 2003
แต่ประเทศซึ่งอาจเป็นแชมป์ e-governmentเร็วที่สุด
เนื่องจากกำหนดไว้ว่าในช่วงสิ้นปี ค.ศ. 2000 นี้ ประชาชนจะสามารถเข้าถึงบริการและเอกสารของรัฐได้ทางอิเล็กทรอนิกส์
คือ ประเทศฝรั่งเศส
สำหรับประเทศไทย
ในเรื่องการบริหารและการบริการของรัฐแก่ประชาชนมีการกล่าวถึง
ตั้งแต่ในกฎหมายสูงสุดของประเทศ คือ รัฐธรรมนูญฯ ในมาตรา 78 หรือแผนสภาพัฒน์ฯ
ฉบับที่ 8 ที่กล่าวถึงการนำไอทีมาใช้เพื่อเชื่อมโยง
ระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน
เพื่อการบริหารและการบริการที่มีประสิทธิภาพนอกจากนี้
ในแผนไอทีแห่งชาติเองก็ระบุว่าหน่วยงานของรัฐต้องลงทุนให้พร้อมด้วยไอที
และบุคลากรที่มีศักยภาพในการใช้ไอที ในแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐก็ได้กำหนดกิจกรรมหนึ่งที่ทุกส่วนราชการต้องดำเนินการไว้ในแผนหลักเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนบทบาท
ภารกิจและวิธีการบริหารของภาครัฐว่า
การพัฒนาให้มีระบบสารสนเทศของหน่วยงานกลางในภาครัฐ
ตลอดจนนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เหมาะสมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐและการให้บริการแก่ประชาชน
จะเห็นว่าในระดับนโยบายนั้นมีการให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาโดยตลอด
ความหมาย e-government
e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์
ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4
ประการคือ
1.สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
2.ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
3.เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
4.มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม
e-government คือ
วิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหม่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และเครือข่ายเพื่อเพิ่่มประสิทธิภาพของผลงานของภาครัฐ
และปรับปรุงการ บริการแก่ประชาชน
และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น
โดยการใช้เทคโนโลยีจะนำมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของการเข้าถึง และการให้บริการของรัฐโดยมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่ม คือ ประชาชน ภาคธุรกิจและข้าราชการเอง
ผลพลอยได้ที่สำคัญที่เราจะได้รับคือความโปร่งใสที่ดีขึ้นอันเนื่องมากจากการเปิดเผยข้อมูลที่หวังว่าจะนำไปสู่การลดคอรัปชั่น
หากเทียบกับ e-commerce แล้ว
egovernment คือ
G-to-G1 Transaction และมีลักษณะเป็น
intranet มีระบบความปลอดภัย
เพื่อทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงานของรัฐ ในขณะที่ e-services
เทียบได้กับ B-to-G2
และ G-to-C3 Transaction ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการให้บริการ โดยภาคธุรกิจกับประชาชนคือผู้รับบริการ
e-government กับ
e-services มีความเกี่ยวพันกันมาก
กล่าวได้ว่า e-government เป็นพื้นฐานของ e-services
เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้อง มีเครือข่ายภายในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย
และทำให้องค์กร สามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้
การพัฒนาระบบสารสนเทศและการพัฒนาทักษะ
รวมทั้งองค์ความรู้ของหน่วยงานเป็นพื้นฐานสำคัญของการให้บริการของรัฐ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริการที่คาบเกี่ยวกันหลายหน่วยงานแต่เป็น one-stop service เป้าหมายปลายทางของ e-government
ไม่ใช่การดำเนินการเพื่อรัฐ แต่หากผลประโยชน์สูงสุดของการเป็น e-government คือประชาชนและภาคธุรกิจ
e-government เป็นโอกาสที่จะขยายศักยภาพของการให้บริการแก่ประชาชน ไม่เฉพาะภายในประเทศ
แต่รวมทั้งประชาชนที่อยู่ต่างประเทศด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทำงานของภาครัฐนั่นเอง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง e-government เป็นการนำกลวิธีของ
ecommerce มาใช้ในการทำธุรกิจของภาครัฐ
เพื่อให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการ ส่งผลให้เกิดการ
บริการแก่ประชาชนที่ดีขึ้นการดำเนินธุรกิจกับภาคเอกชนดีขึ้น
และทำให้มีการใช้ข้อมูลของภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพขึ้นด้วย
หลัก e-Government
จะเป็นแบบ G2G G2B และ
G2C ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐประชาชนอุ่นใจในการรับบริการและชำระเงินค่าบริการ ธุรกิจก็สามารถดำเนินการค้าขายกับหน่วยงานของรัฐด้วยความราบรื่น
อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญในการให้บริการตามแนวทางรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
B2C
|
ภาคธุรกิจสู่ผู้บริโภค (Business to Consumer)
|
B2B
|
ภาคธุรกิจสู่ภาคธุรกิจ (Business to Business)
|
G2G
|
ภาครัฐสู่ภาครัฐด้วยกัน (Government to Government)
|
G2C
|
ภาครัฐสู่ประชาชน (Government to Citizen)
|
G2B
|
ภาครัฐสู่ภาคธุรกิจ (Government to Business)
|
G2E
|
ภาครัฐสู่ภาคข้าราชการและพนักงานของรัฐ (Government to Employee)
|
1. รัฐ
กับ ประชาชน (G2C)
เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง โดยที่บริการดังกล่าวประชาชนจะสามารถดำเนินธุรกรรมโดยผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ
เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียนการจ่ายค่าปรับ การรับฟังความคิดเห็นของประชาชน
การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแทนประชาชนกับผู้ลงคะแนนเสียงและการค้นหาข้อมูลของรัฐที่ดำเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซต์
เป็นต้นโดยที่การดำเนินการต่าง ๆ นั้นจะต้องเป็นการทำงานแบบ Online และ
Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์
2. รัฐ
กับ เอกชน (G2B)
เป็นการให้บริการขภาคธุรกิจเอกชน โดยที่รัฐจะอำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันกันโดยความเร็วสูง
มีประสิทธิภาพ และมีข้อมูลที่ถูกต้องอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส เช่น
การจดทะเบียนทางการค้า การลงทุน และการส่งเสริมการลงทุนการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์
การส่งออกและนำเข้า การชำระภาษี และการช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก
3. รัฐ
กับ รัฐ (G2G)
เป็นรูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไปมากของหน่วยราชการ ที่การติดต่อสื่อสารระหว่างกันโดยกระดาษและลายเซ็นต์ในระบบเดิมในระบบราชการเดิม
จะมีการเปลี่ยนแปลงไปด้วยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศ และ
ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างเป็นทางการเพื่อเพิ่มความเร็วในการดำเนินการ
(Economy of Speed) ลดระยะเวลาในการส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกันนอกจากนั้นยังเป็นการบูรณาการการให้บริการระหว่าง
หน่วยงานภาครัฐโดยการใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายสารสนเทศเพื่อเอื้อให้เกิดการทำงานร่วมกัน
(Collaboration) และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน
(Government Data Exchan)ทั้งนี้รวมไปถึงการเชื่อมโยงกับรัฐบาลของต่างชาติ
และองค์กรปกครองท้องถิ่นอีกด้วย ระบบงานต่างๆ ที่ใช้ในเรื่องนี้ ได้แก่ ระบบงาน Back Office ต่าง
ๆ ได้แก่ ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ระบบบัญชีและการเงินระบบจัดซื้อจัดจ้างด้วยอิเล็กทรอนิกส์
เป็นต้น อย่างไรก็ดี จะต้องมีกระบวนการในการลดแรงต่อต้านของบุคลากรที่คุ้นเคยกับการทำงานในระบบเดิม
4. รัฐ
กับ ข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E)
เป็นการให้บริการที่จำเป็นของพนักงานของรัฐ (Employee)กับรัฐบาล
โดยที่จะสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานและการดำรงชีวิต
เช่น ระบบสวัสดิการระบบที่ปรึกษาทางกฎหมาย และข้อบังคับในการปฏิบัติราชการ
ระบบการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ
ตัวอย่างโครงการ
โครงสร้างพื้นฐานไอที
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลนำเข้า-ส่งออก ในปัจจุบัน กำลังปรับเปลี่ยนจากระบบ EDI เป็นระบบ ebXML/XML
=========================== THE END ===========================
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น